นายวินัย  ระนาดเสนาะ
นายกอบต.วังแดง

แบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้บริการของ อบต.วังแดง

แบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้บริการของ ด้านงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

moi-most

ผู้เข้าชมในขณะนี้

We have 11 guests online
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน

          ภาษีโรงเรือนและที่ดิน  หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือน หรือ สิ่งที่ปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ กับที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องไปกับโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างนั้น
          ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ได้แก่ โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง และที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างนั้น และในปีที่ผ่านมาได้มีการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินนั้น เช่น ให้เช่า ใช้เป็นที่ทำการค้าขาย ที่ไว้สินค้า ที่ประกอบอุตสาหกรรม ให้ญาติ บิดา มารดา บุตร หรือใช้ประกอบกิจการอื่น ๆ เพื่อหารายได้และไม่เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย

หลักการสำคัญ
          1. ต้องมีทรัพย์สิน  ได้แก่
              - โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น และ
              - ที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น
          2. ไม่เข้าข้อยกเว้น  ตามมาตรา 9 , 10

ข้อสังเกต
          - ค่าภาษี ผู้รับประเมินชำระภาษีปีละครั้งตามค่ารายปีของทรัพย์สิน ในอัตราร้อยละ 12.5 ของค่ารายปี
          - ค่ารายปี จำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ในกรณีให้เช่า ให้ถือว่าค่าเช่าคือค่ารายปี
          - เงินเพิ่ม เป็นมาตรการการทางแพ่ง เพื่อให้มีการชำระภาษีภายในกำหนด ตามมาตรา 43 ซึ่งพนักงานเก็บภาษีสามารถเรียกเก็บผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้เอง
          - ค่าปรับ เป็นโทษทางอาญา ซึ่งมีกำหนดไว้ในมาตรา 46,47 และ 48 โดยพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองเป็นผู้มีหน้าที่เปรียบเทียบปรับ และท้องถิ่นได้ขอรับเงินค่าปรับมาเป็นรายได้ของตนเอง
          - พนักงานเจ้าหน้าที่ คือ ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้มีหน้าที่รับแบบฯ ประเมินภาษีและปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด
          - พนักงานเก็บภาษี คือ ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้มีหน้าที่จัดเก็บ รับชำระ รวมทั้งเร่งรัดให้ชำระภาษีและปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด 

ทรัพย์สินที่ได้รับการยกเว้นภาษีไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ได้แก่
          1. พระราชวังอันเป็นส่วนของแผ่นดิน
          2. ทรัพย์สินของรัฐบาลที่ใช้ในกิจกรรมของรัฐบาลหรือสาธารณะและทรัพย์สินของการรถไฟ
แห่งประเทศไทยที่ใช้ในกิจการของการรถไฟโดยตรง
          3. ทรัพย์สินของโรงพยาบาลสาธารณะ และโรงเรียนสาธารณะซึ่งกระทำกิจการที่ไม่ใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคลและใช้เฉพาะในการรักษาพยาบาลและในการศึกษา
          4. ทรัพย์สินซึ่งเป็นศาสนสมบัติอันใช้เฉพาะในศาสนกิจอย่างเดียวหรือเป็นที่อยู่ของสงฆ์
          5. โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ซึ่งปิดไว้ตลอดปี และเจ้าของมิได้อยู่เองหรือให้ผู้อื่นอยู่
นอกจากคนเฝ้าในโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ หรือในที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกัน
          6. โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างของการเคหะแห่งชาติที่ผู้เช่าซื้ออยู่อาศัยเอง และมิได้ใช้เป็นที่
เก็บสินค้า หรือประกอบอุตสาหกรรม          
          7. โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ ซึ่งเจ้าของอยู่เองหรือให้ผู้แทนอยู่เฝ้ารักษา และซึ่งมิได้ใช้เป็น  ที่ไว้สินค้าประกอบการอุตสาหกรรม

การลดหย่อนภาษีหรือปลดภาษี
          1. เมื่อปรากฏว่าผู้รับประเมินได้เสียหายเพราะทรัพย์สินว่างลงหรือชำรุด ต้องซ่อมแซมส่วนสำคัญ
          2. ผู้รับประเมินยื่นคำร้อง
          3. ลดค่าภาษีลงตามส่วนที่เสียหาย หรือปลดค่าภาษีทั้งหมดก็ได้

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
          1. เจ้าของทรัพย์สิน
          2. เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างและเจ้าของที่ดินเป็นคนละเจ้าของ เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีสำหรับทรัพย์สินนั้นทั้งหมด

ระยะเวลาการยื่นแบบแสดงรายการทรัพย์สินเพื่อเสียภาษี
          เจ้าของทรัพย์สินต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภรด.2) ณ สำนักงานปกครองส่วนท้องถิ่น ที่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นตั้งอยู่ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี

การคำนวณภาษี
          ภาษีโรงเรือนและที่ดินคิดจากค่ารายปีของทรัพย์สิน ในอัตราร้อยละ 12.5 ของค่ารายปี
ค่ารายปีของทรัพย์สิน หมายถึง จำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ เช่น บ้านให้เช่าเดือนละ 1,000 บาท ค่ารายปีของบ้านหลังนี้ก็คือ 12,000 บาท (หมายถึง ค่าเช่าทั้งปีของบ้านหลังนี้ 1,000 X 12 = 12,000 บาท)

ค่าภาษี
          1. ผู้รับประเมินชำระภาษีปีละครั้งตามค่ารายปี
          2. อัตราร้อยละ  12.5  ของค่ารายปี
                     ค่าภาษี = ค่ารายปี x 12.5 %

ค่ารายปี
          ค่ารายปี คือ จำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ กรณีให้เช่าให้ถือค่าเช่าคือค่ารายปีกรณีมีเหตุ
          - ค่าเช่ามิใช่จำนวนเงินอันสมควร
          - หาค่าเช่าไม่ได้ เนื่องจากดำเนินกิจการเองหรือด้วยเหตุประการอื่น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินค่ารายปีตามหลักฐานหลักเกณฑ์ที่ รมว.มท. กำหนด

เงินเพิ่ม
          ผู้มีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน เมื่อได้รับแจ้งการประเมินแล้ว จะต้องนำเงินค่าภาษีไปชำระภายใน  30 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน มิฉะนั้นจะต้องเสียภาษีเพิ่ม ดังนี้
          1)  ถ้าชำระไม่เกิน  1 เดือน นับแต่วันพ้นกำหนดให้เพิ่มร้อยละ  2.5 ของค่าภาษีที่ค้าง
          2)  ถ้าเกิน  1 เดือน  แต่ไม่เกิน  2 เดือน  ให้เพิ่มร้อยละ  5    ของค่าภาษีที่ค้าง
          3)  ถ้าเกิน  2 เดือน  แต่ไม่เกิน  3 เดือน  ให้เพิ่มร้อยละ  7.5 ของค่าภาษีที่ค้าง
          4)  ถ้าเกิน  3 เดือน  แต่ไม่เกิน  4 เดือน  ให้เพิ่มร้อยละ  10  ของค่าภาษีที่ค้าง

สรุปขั้นตอนการชำระภาษีโรงเรือนและทีดิน
          1. ผู้รับประเมินยื่นแบบฯ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในเดือนภุมภาพันธ์ของทุกปี
          2. กำหนดประเภททรัพย์สิน  ค่ารายปี  ค่าภาษี
          3. พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งพนักงานเก็บภาษี
          4. พนักงานเก็บภาษีแจ้งรายการประเมินให้ผู้รับประเมินทราบโดยไม่ชักช้า
          5. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีชำระค่าภาษีภายใน  30 วัน นับถัดจากวันรับแจ้งการประเมิน

บทกำหนดโทษ
          1. ผู้ใดละเลยไม่แสดงข้อความในแบบพิมพ์เพื่อแจ้งรายการทรัพย์สินตามความเป็นจริงตามความรู้เห็นของตนให้ครบถ้วน และรับรองความถูกต้องของข้อความดังกล่าวพร้อมทั้งลงวันที่ เดือน ปีและลงลายมือชื่อของตนกำกับไว้ เว้นแต่จะเป็นด้วยเหตุสุดวิสัย ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท
          2. ผู้ใดละเลยไม่ปฏิบัติตามหมายเกรียกของพนักงานเจ้าหน้าที่ ไม่แจ้งรายการเพิ่มรายละเอียดยิ่งขึ้นเมื่อเรียกร้อง ไม่นำพยานหลักฐานมาแสดงหรือไม่ตอบคำถามเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ซักถาม หรือไม่ตอบคำถามเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ซักถามผู้รับประเมินในเรื่องใบแจ้งรายการต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
          3. ผู้ใดยื่นข้อความเท็จ หรือให้ถ้อยคำเท็จ หรือตอบคำถามด้วยคำอันเป็นเท็จ หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยงหรือจัดหาทางให้ผู้อื่นหลีกเลี่ยงการคำนวณค่ารายปีแห่งทรัพย์สินของตนที่ควรก็ดี หรือโดยความเท็จ  โดยเจตนาละเลย  โดยฉ้อโกงโดยอุบายโดยวิธีอย่างหนึ่งอย่างใดทั้งสิ้นที่จะหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการคำนวณค่ารายปีแห่งทรัพย์สินของตนตามที่ควรก็ดีต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ

การอุทธรณ์การประเมินภาษี
          เมื่อผู้เสียภาษีได้รับการแจ้งการประเมินแล้ว ไม่พอใจในการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่โดยเห็นว่า ค่าภาษีสูงเกินไป หรือประเมินไม่ถูกต้อง ก็มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้โดยยื่นอุทธรณ์ตามแบบที่กำหนด (ภรด.9) ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่รับแจ้งการประเมิน และเมื่อได้รับแจ้งผลการชี้ขาดแล้วยังไม่เป็นที่พอใจก็มีสิทธินำเรื่องร้องต่อศาลได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาด