นายวินัย ระนาดเสนาะ นายกอบต.วังแดง
|
แบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้บริการของ อบต.วังแดง |
---|
|
แบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้บริการของ ด้านงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย |
---|
|
เอกสารเผยแพร่
vdoกิจกรรม
กลุ่มผลิตก๊าซชีวภาพ |
ทอดแหบึงทับกระดาน |
ป้องกันยาเสพติด |
ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
กฎหมายระเบียบ |
พรบ.เทคโนโลยีสารสนเทศ |
พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร |
หนังสือ/บทความ |
ผู้เข้าชมในขณะนี้
We have 12 guests online
ภาษีป้าย(ภาษีท้องถิ่น) ผู้เสียภาษี อนึ่ง
ถ้าไม่สามารถหาตัวผู้ครอบครองป้ายได้ ให้ถือว่าเจ้าของอาคาร หรือสถานที่
หรือที่ดินที่ป้ายติดอยู่นั้น เป็นเจ้าของป้ายตามลำดับ
และมีหน้าที่เป็นผู้เสียภาษีป้าย ป้ายที่ต้องเสียภาษี วิธีคำนวณภาษี ค่าภาษีป้าย =
หน่วยของป้ายที่ต้องเสียภาษี x อัตราภาษีป้าย 1.ป้ายที่มีขอบเขตกำหนดได้ ป้ายที่มีขอบเขตกำหนดได้
คือ ป้ายที่มีขอบเขตชัดเจน ให้คำนวณพื้นที่ของป้ายเป็น ตร.ซม.
โดยให้นำส่วนที่กว้างที่สุด (ใช้หน่วยเป็น ซม.) คูณกับส่วนที่ยาวที่สุด
(ใช้หน่วยเป็น ซม.) เพื่อคำนวณพื้นที่ของป้าย 2.ป้ายที่ไม่มีขอบเขตกำหนดได้ ป้ายที่ไม่มีขอบเขตกำหนดได้
คือ ป้ายที่แสดงข้อความ ชื่อ ยี่ห้อ โดยไม่มีขอบเขตที่ชัดเจน เช่น
เขียนไว้บนผนังอาคาร หรือกำแพง เป็นต้น ให้คำนวณพื้นที่ของป้ายเป็น ตร.ซม.
โดยให้วัดจากอักษร ภาพหรือ เครื่องหมายที่อยู่ริมสุดเป็นขอบเขตสำหรับกำหนดความกว้างที่สุดและยาวที่สุด
(ใช้หน่วยเป็น ซม.) เพื่อคำนวณพื้นที่ของป้าย
(ก)
ป้ายที่มีข้อความเคลื่นที่หรือเปลี่ยนเป็นข้อความอื่นได้ คิดอัตรา 10 บาท ต่อ 500 ตร.ซม. (ข)
ป้ายทั่วๆ ไปที่ไม่มีข้อความเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนเป็นข้อความอื่นได้
คิดอัตรา 5 บาทต่อ 500 ตร.ซม. บริษัท สปา จำกัด
ป้ายประเภท 2- ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ (รวมถึงเลขอารบิก) หรือมีอักษรไทยกับภาพ และ/หรือเครื่องหมายอื่น (ข)
ป้ายทั่วๆ ไปที่ไม่มีข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพเคลื่อนที่
หรือเปลี่ยนเป็นข้อความเครื่องหมาย หรือภาพอื่นได้ คิดอัตรา 26 บาท ต่อ 500 ตร.ซม. ตัวอย่าง บริษัท สปา จำกัด SPD CO.,LTD.
ป้ายประเภท 3 - ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่าจะมีภาพหรือมีเครื่องหมายใดๆหรือไม่ และป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ (ก)
ป้ายที่มีข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพที่เคลื่อนที่ หรือเปลี่ยนข้อความเครื่องหมาย
หรือภาพอื่นได้ คิดอัตรา 52 บาท 500 ตร.ซม. (ข)
ป้ายทั่วๆ ไปที่ไม่มีข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพเคลื่อนที่
หรือเปลี่ยนเป็นข้อความเครื่องหมาย หรือภาพอื่นได้ คิดอัตรา 50 บาท ต่อ 500 ตร.ซม. SPD CO.,LTD. บริษัท สปา จำกัด · พื้นที่ป้าย 125 ซม. x 135 ซม. = 16,875 ตร.ซม. · หน่วยของป้ายที่ต้องเสียภาษี = พื้นที่ป้าย (ตร.ซม.)÷ 500 · หน่วยของป้ายที่ต้องเสียภาษี = 16,875 ÷ 500 · หน่วยของป้ายที่ต้องเสียป้าย = 33.75 · เนื่องจากพื้นที่ของป้ายมีเศษเกินกึ่งของ 500 ตร.ซม. จึงต้องปัดเศษ 0.75
ขิ้นเป็นจำนวนเต็ม 34 แล้วไปคูณอัตราภาษีป้าย · อัตราภาษีป้ายประเภท 3 (ข) คิดอัตรา 50 บาท ต่อ 500
ตร.ซม. (อัตราภาษีของป้ายที่ไม่มีอักษรไทย
ไม่ว่าจะมีภาพหรือมีเครื่องหมายใดๆ หรือไม่
และป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ
อยู่บนป้ายทั่วๆ ไปที่ไม่มีข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพที่เคลื่อนที่
หรือเปลี่ยนเป็นข้อความเครื่องหมาย หรือภาพอื่นได้) · ค่าภาษีป้าย = หน่วยของป้ายที่ต้องเสียภาษี x อัตราภาษีป้าย · ค่าภาษีป้าย = 34 x 50 เทียบเคียงตัวอย่างจาก หนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ที่ มท 0808.3/ว7621
ลว 21 ธันวาคม 2563 สรุปอัตราภาษีป้าย
อนึ่ง หากคำนวนภาษีป้ายๆ
หนึ่งแล้วได้ต่ำกว่า 200 บาท ให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาท กรณีป้ายติดตั้งบนอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลอื่นและมีพื้นที่เกิน
2 ตารางเมตร หากเป็นป้ายที่ติดตั้งบนอสังการิมทรัพย์ของบุคคลอื่นและมีพื้นที่เกิน
2 ตารางเมตร ป้ายดังกล่าวจะต้องมีข้อความที่แสดงชื่อและที่อยู่ของเจ้าของป้ายที่เป็นอักษรไทยที่มุมขวาด้านล่างของป้ายด้วย อย่างไรก็ตาม
หากข้อความที่แสดงชื่อและที่อยู่ของเจ้าของป้ายนั้นมีส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดอยู่นอกขอบเขตของป้าย
ให้คิดภาษีส่วนที่มีข้อความดังกล่าวที่อยู่นอกเขตป้ายตามอัตราของป้ายที่มีอักษรไทยล้วน
แต่ถ้าส่วนที่อยู่นอกขอบเขตของป้ายมีพื้นที่ไม่เกิน 10 % ของป้ายให้ได้รับยกเว้นภาษีป้าย ป้ายที่ได้รับยกเว้นภาษี ป้ายต่อไปนี้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีป้าย 1. ป้ายที่แสดงไว้
ณ โรงมหรสพและบริเวณของโรงมหรสพนั้นเพื่อโฆษณามหรสพ 2. ป้ายที่แสดงไว้ที่สินค้าหรือที่สิ่งหุ้มห่อหรือบรรจุสินค้า 3. ป้ายที่แสดงไว้ในบริเวณงานที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว 4. ป้ายที่แสดงไว้ที่คนหรือสัตว์ 5. ป้ายที่แสดงไว้ภายในอาคารที่ใช้ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นหรือภายในอาคารซึ่งเป็นที่รโหฐานทั้งนี้
เพื่อหารายได้ และแต่ละป้ายมีพื้นที่ไม่เกิน 3 ตารางเมตร แต่ไม่รวมถึงป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์ 6. ป้ายของทางราชการส่วนกลาง
ราชการส่วนภูมิภาคหรือราชการส่วนท้องถิ่น 7. ป้ายขององค์การที่จัดตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นๆ
และหน่วยงานที่นำรายได้ส่งรัฐ 8. ป้ายธนาคารแห่งประเทศไทย
ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการสหกรณ์
และบริษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 9. ป้ายของโรงเรียนเอกชน
สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่แสดงไว้ ณ อาคารหรือบริเวณของโรงเรียนเอกชน หรือ
สถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้น 10. ป้ายของผู้ประกอบการเกษตรซึ่งค้าผลผลิตอันเกิดจากการเกษตรของตน 11. ป้ายของวัดหรือผู้ดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนา
หรือกุศลศาธารณะโดยเฉพาะ 12. ป้ายของสมาคมหรือมูลนิธิ 13. ป้ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ได้แก่ o ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่รถยนต์ส่วนบุคคล
รถจักรยานยนต์ รถบดถนนหรือรถแทรกเตอร์ o ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ล้อเลื่อน o ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ยานพาหนะอื่นๆ
นอกเหนือจากนี้ โดยมีพื้นที่ไม่เกิน 500 ตร.ซม. · หากเป็นป้ายในห้างสรรพสินค้า
แต่มีขนาดเกิน 3 ตารางเมตรจะไม่ได้รับยกเว้นภาษีป้าย · แม้จะเป็นป้ายบอกทางไปรีสอร์ท
ถ้าป้ายบอกทางดังกล่าวมีชื่อรีสอร์ท รวมด้วย ก็ต้องเสียภาษีป้าย · แม้จะเป็นป้ายบอกทางไปโรงเรียนเอกชน
ถ้าป้ายบอกทางดังกล่าวมีชื่อโรงเรียนรวมอยู่ด้วย ก็ต้องเสียภาษีป้าย · ถ้าป้ายนั้นเป็นป้ายที่มีคนถือ
ไม่ต้องเสียภาษี วิธีเสียภาษี ภาษีป้ายจะเรียกเก็บเป็นปี
โดยเจ้าของป้ายจะต้องยื่นแบบ ภ.ป.1 ภายในวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี
และเมื่อได้รับการแจ้งประเมินค่าภาษีป้ายแล้ว ต้องชำระภาษีภายใน 15
วันนับแต่วันได้รับแจ้งประเมิน ทั้งนี้
ก่อนติดตั้งป้ายต้องขออนุญาตผู้บริหารท้องถิ่นก่อนติดตั้งป้าย โดยมีขั้นตอน ดังนี้ 1. ยื่นขออนุญาต
โดยแจ้งขนาด พร้อมด้วยภาพถ่ายหรือภาพสเกตช์ของป้าย
และแผนผังที่ตั้งของป้ายกับเทศบาล สำนักงานเขต หรือ อบต. 2. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย
(ภ.ป.1) ภายในวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี
โดยต้องใช้เอกสารประกอบ ดังต่อไปนี้ o บัตรประชาชน o สำเนาทะเบียนบ้าน o เลขประจำตัวผู้เสียภาษี
เลขที่ทะเบียนการค้า o หนังสือรับรองนิติบุคคล
(กรณีเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล) o รูปถ่ายป้าย
พร้อมขนาดกว้าง x ยาว o ใบอนุญาตติดตั้งป้าย
หรือใบเสร็จรับเงินจากร้านทำป้าย ในกรณีที่เคยยื่นแบบ ภ.ป.1 แล้ว
ให้นำใบเสร็จรับเงินค่าภาษีป้ายจากปีที่แล้วมาแสดงด้วย กรณีติดป้ายเป็นปีแรก อย่างไรก็ตาม โดยปกติเจ้าของป้ายจะต้องเสียภาษีป้ายเป็นราบปีเต็มจำนวน
แต่ถ้าเป็นป้ายที่พึ่งเริ่มติดตั้งหรือ แสดงเป็นปีแรก
ให้เสียภาษีป้ายตั้งแต่วันที่เริ่มติดตั้งหรือแสดงจนถึง 31 ธันวาคม ของปีนั้น
และให้คิดภาษีป้ายเป็นรายงวด งวดละ 3 เดือนของปี โดยเสียภาษีป้ายตั้งแต่งวดที่ติดตั้งป้ายจนถึงงวดสุดท้ายของปี ดังนั้น หากติดป้ายใหม่เป็นปีแรก
การจ่ายภาษีป้ายจึงแบ่งได้เป็น 4 ช่วง ดังนี้ 1. ติดป้ายระหว่างมกราคม
มีนาคม จะเสียภาษีป้ายเต็มจำนวน 100% 2. ติดป้ายระหว่างเมษายน
มิถุนายน จะเสียภาษีป้าย 75 % ของอัตราภาษีป้ายทั้งปี 3. ติดป้ายระหว่างกรกฎาคม
กันยายน จะเสียภาษีป้าย 50 % ของอัตราภาษีป้ายทั้งปี 4. ติดป้ายระหว่างตุลาคม
ธันวาคม จะเสียภาษีป้าย 25 % ของอัตราภาษีป้ายทั้งปี เช่น ถ้าเพิ่งติดป้ายปีแรกเมื่อวันที่
15 เมษายน จะต้องเสียภาษีป้ายเป็นจำนวน 75% ของอัตราภาษีป้ายทั้งปี สถานที่ชำระภาษี · เทศบาล · องค์การบริหารส่วนตำบล
(อบต.) |
|||||||||||||
This Category is currently empty |
|||||||||||||
|